สถาปนิก’68 มุ่งลดคาร์บอน ดันนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างรักษ์โลก

สถาปนิก68 อสังหา คาร์บอน

สถาปนิก'68 ขับเคลื่อนธุรกิจอสังหารักษ์โลก มุ่งลดคาร์บอน ดึงผู้ประกอบการทั่วโลก จัดแสดงผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ในปี 2568 นี้ ในงานสถาปนิก'68 ได้มีการนำเสนอวัสดุและเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์แนวทางการพัฒนางานก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคและนักลงทุน โดยในปีนี้ งานสถาปนิก'68 ได้ดึงผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 1,000 ราย มารวมตัวกันจัดแสดงผลงานของผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนวัตกรรมที่นำมาใช้กับวัสดุก่อสร้าง หรือการรูปแบบการออกแบบตัวอาคารที่จะช่วยลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตหรือการนำมาใช้งาน เช่น

NIPPON PAINT ผลิตภัณฑ์สีทาบ้านชั้นนำ ได้โชว์ผลิตภัณฑ์ Nippon Paint Aircare ซึ่งเป็นสีที่ปราศจากสารพิษและสารระเหย หลังการทาสีสามารถเข้าอยู่ได้ทันทีโดยไม่เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ

SCG นำเสนอปูนงานโครงสร้าง เอสซีจี คาร์บอนต่ำ ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 50 กิโลกรัม CO2 ต่อการผลิตปูน 1 ตัน และนอกจากนี้ยังใช้ Biomass เป็นเชื่อเพลิงทดแทนถ่านหินที่จำเป็นต่อกระบวนการผลิต และใช้ลมร้อนจากกระบวนการผลิตเพื่อเป็นพลังงานทดแทนไฟฟ้า

YKK นำเสนอประตู NEXSTA เป็นประตูรุ่นระบายอากาศที่ช่วยส่งเสริมอาคารสีเขียวและบ้านประหยัดพลังงาน โดยมีช่องที่สามารถรับอากาศและแสงธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

FORMICA นำเสนอ DecoMetal Laminate เป็นแผ่นลามิเนตผิวโลหะรุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติในการดูดซับแสง ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมภายในที่ดีต่อสุขภาพ ลดการปล่อยอนุภาคและสารเคมีในอากาศ โดยผ่านการรับรองจาก GREENGUARD ที่คำนึงถึงคุณภาพอากาศในพื้นที่ภายใน

และที่กล่าวมาข้างต้นยังไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอีกมากมายที่ได้คิดค้นมาเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในงาน สถาปนิก'68

นอกจากนี้ ในพาร์ทของนักลงทุน การใช้วัสดุก่อสร้างที่รักษ์โลกและลดการปล่อยคาร์บอน กำลังมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากเป็นกลยุทธที่ผู้ประกอบการอสังหา นำเข้ามาใช้เพื่อช่วยสร้างภาพลักษณ์อันดีให้กับองค์กรอีกด้วย

สถาปนิก68 คาร์บอน รักษ์โลก อสังหา

สถาปนิก'68 คือการประชุมวิชาการด้านสถาปัตยกรรมที่จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2508 โดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA) ซึ่งจัดขึ้นทุกปีเป็นกิจกรรมที่สำคัญในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรม และส่งเสริมการพัฒนาอาชีพสถาปนิกในประเทศไทย โดยจะมีการจัดแสดงผลงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบและการก่อสร้าง รวมทั้งมีการบรรยายหรือเวิร์กช็อปต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและแนวโน้มของการออกแบบสถาปัตยกรรมในยุคต่างๆ

เช็กก่อน! 7 ข้อควรรู้ก่อน “ซื้อบ้านมือสอง”
10 เคล็ดลับ “เลือกซื้อบ้านหลังแรก” ให้ตอบโจทย์ชีวิต
อสังหาฯพระราม2 ก้าวสู่ยุคเฟื่องฟู?

คาร์บอนทางอสังหาฯ คือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) หรือคาร์บอนที่เกิดจากกระบวนการต่างๆ ในการก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น

การผลิตวัสดุก่อสร้าง: การผลิตวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น เหล็ก, ปูนซีเมนต์, อิฐ ซึ่งกระบวนการผลิตวัสดุเหล่านี้มักปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) สู่ชั้นบรรยากาศ
การก่อสร้างเอง: การใช้พลังงานในการก่อสร้าง เช่น เครื่องจักรหนักที่ใช้พลังงานจากน้ำมันดีเซล หรือการขนส่งวัสดุก่อสร้างต่างๆ ซึ่งจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
การใช้พลังงานในอาคาร: หลังจากที่อาคารสร้างเสร็จ การใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานอื่นๆ ในการทำความร้อน, แอร์, และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในอาคาร ก็มีส่วนในการปล่อยคาร์บอน

โครงการลดคาร์บอนในอสังหาริมทรัพย์ ที่สำคัญมีหลายโครงการที่เริ่มมีการนำมาปฏิบัติ เช่น
LEED (Leadership in Energy and Environmental Design): ระบบการรับรองอาคารที่ออกแบบมาเพื่อประหยัดพลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการลดการใช้พลังงานและการใช้วัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืน

มาตรฐาน Green Building: มาตรฐานในการสร้างอาคารที่ให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงานจากแหล่งฟอสซิล และใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การใช้พลังงานทดแทน: โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ หรือระบบจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ระบบการจัดการน้ำ: การออกแบบระบบที่สามารถรีไซเคิลน้ำ หรือการใช้ระบบน้ำฝนในการใช้ในอาคาร ลดการใช้น้ำจากแหล่งธรรมชาติ

ในปัจจุบัน ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีการนำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อให้สามารถลดการปล่อยคาร์บอนและส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

แชร์หน้านี้

เข้าร่วมการสนทนา

เปรียบเทียบประกาศ

เปรียบเทียบ